เปิดร้านขาย น้ำแข็งใส เมนู ของหวาน สำหรับ ฤดูร้อน    น้ำแข็งใส ราคาถ้วยละ 10 บาท 15 บาท จะขายได้กำไรเท่าไหร่กัน ไหนวัตถุดิบอย่างน้ำแข็งถ้าขายไม่ได้ก็ละลาย เสียเวลาเสียต้นทุนไปเปล่า ๆ สู้ขายอย่างอื่นอย่างกาแฟ ชานมยังมีกำไรมากว่าซะอีก
แต่ยังไงเราก็ยังคงเห็นพ่อค้าแม่ค้าขายน้ำแข็งใสกันอย่างมากมาย จึงเชื่อได้ว่า อาขีพขายน้ำแข็งใสจะต้องมีกำไรพอสมควร และด้วยเมนูนี้สามารถขายได้ให้กับทุกเพศทุกวัย เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อน การขายน้ำแข็งใสจึงตอบโจทย์คนไทยได้ดี กินแล้วชื่นอกชื่นใจกับน้ำแข็งใส ราดด้วยน้ำแดง น้ำเขียว มีท๊อปปิ้งอย่างเฉาก๋วย ลูกชิพ ลูกตาล เยลลี่ ถูกใจเด็ก ๆ จนน้ำลายไหลกันแล้ว
ส่วนทำเลที่เหมาะกับการขายน้ำแข็งใส เช่น หน้าโรงเรียน หน้าโรงงาน ตามหมู่บ้าน ตามตลาดนัด ซึ่งหากตั้งใจขายดี ๆ มีรูปแบบใหม่ เมนูใหม่ ๆ อาจจะขายดีกว่าอาชีพอื่นอีก และเพื่อให้ได้มองเห็นภาพอันชัดเจนว่าธุรกิจน้ำแข็งใสมีความน่าสนใจ เราได้นำวิธีคิดต้นทุนมาแจกแจงให้เห็นภาพกัน

 

การเริ่มต้นเปิดร้านน้ำแข็งใส

เนื่องจากการเริ่มต้นอาชีพขายน้ำแข็งใส เริ่มต้นได้ง่าย ใช้อุปกรณ์ไม่มากนัก ซึ่งในการเริ่มต้นอาจจะลองเปิดร้านขายหน้าบ้านตัวเองดูก่อนซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ค่อย ๆ ขายสะสมเงินทุนพอมีกำลัง ค่อยขยับขยายเปิดเป็นร้านขายน้ำแข็งใส ในแหล่งชุมชนใหญ่ ๆ

 

ต้นทุนโดยเฉลี่ยของร้านน้ำแข็งใส

ขนาดเล็กเริ่มต้น 3200 บาท เป็นค่าอุปกรณ์ที่สำคัญดังต่อไปนี้
เครื่องบดน้ำแข็ง 1400 บาท
น้ำหวาน เฮลบลูบอย 4 รส 172 บาท ราคาขวดละ 43 บาท
น้ำหวาน นม น้ำเชื่อม  150 บาท
น้ำเชื่อมแบบกระป๋อง 100 บาท
เครื่องต่าง ๆ 200 บาท
นมข้นหวาน 100 บาท
ทัพพีตักน้ำแข็ง 20 บาท
ช้อนตักเครื่อง 70 บาท ตักเครื่องได้ 7 อย่าง
โหลพลาสติก 140 บาท ใช้สำหรับบรรจุเครื่อง 7 อย่าง
ถ้วยโฟม 70 บาท
ตะกร้าใส่หลอด ช้อนพลาสติก 40 บาท
กระติกน้ำ 400 บาท
หลอดสั้น 85 บาท
น้ำแข็ง 50 บาท
ช้อนพลาสติก 25 บาท

 

การตั้งราคาขาย

ปกติร้านน้ำแข็งใสจะให้เลือกเครื่องได้ 2 อย่าง จะราคาขายตั้งที่ 10 บาท หรือถ้าเลือก 3 อย่างจะราคา 15 บาท เป็นราคาประมาณการ ขึ้นอยู่กับร้านค้า ทำเลด้วย โดยการคิดราคาขายส่วนใหญ่จะขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น เครื่องที่ใส่กี่อย่าง ทำเลที่ตั้ง รูปแบบร้าน กลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น เช่น ถ้าขายในห้างสรรพสินค้า อาจตั้งเริ่มต้นที่ 40 บาทสำหรับใส่เครื่อง 2 อย่าง หรือ 50 บาท สำหรับใส่เครื่อง 3 อย่าง ประมาณนี้

 

เครื่องท๊อปปิ้งที่ใส่ โดยราคาต้นทุนคิดแบบใส่เครื่อง 2 อย่าง เฉาก๊วย ลูกชิด ต้นทุนคือ

นมข้นหวาน 0.5 บาท
เฉาก๊วย 1 บาท
ลูกชิด 15 บาท
ถ้วยโฟม 0.7 บาท
น้ำแข็ง 1.5 บาท
น้ำหวาน  หรือ น้ำเชื่อม 1.5 บาท
ช้อน หลอด 0.5 บาท
รวมราคาต้นทุนวัตถุดิบต่อถ้วย 7.2 บาท

 

ถ้าขายในราคา 10 บาท กำไรต่อถ้วยจะ 10-7.2 บาท = 2.8 บาท กำไรที่ได้มาอาจจะไม่มาก แต่ทำไมร้านน้ำแข็งใสยังอยู่ได้ ก็เพราะเทคนิคในการลดต้นทุน และ การขาย

 

หมายถึงว่า การทำน้เชื่อมเองแทนการซื้อ หรือ การทำท๊อปปิ้งต่าง ๆ เอง เช่น แห้ว เผือก มัน เฉาก๊วย ซื้อมาทีละมาก ๆ แล้วก็ทำสำเร็จเก็บไว้ ดีกว่าไปซื้อแยกถุง จะช่วยทำให้ต้นทุนลดลงได้มาก กำไรก็จะมากขึ้นด้วย

 

การคิดราคาต้นทุนนี้ยังไม่รวมในส่วนของการทำตลาด เช่น การลงทุนเปลี่ยนแพคเกจที่อาจจะไม่ใช่ถ้วยโฟม ต้นทุนแพคเกจจะสูงขึ้นกว่าจากเดิมที่ใช้ถ้วยโฟม แต่ราคาขายก็สามารถตั้งสูงขึ้นได้อีกหน่อย อาจจะถึง 20-25 บาท ทั้งนี้ยังไม่รวมเรื่องของการตกแต่งหน้าร้าน การหาทำเลที่เหมาะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือต้นทุน

 

เทคนิคการทำน้ำแข็งใส

ให้หั่นขนมปังไว้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1×2.5 เซ็นติเมตร รวมถึงเครื่องต่าง ๆ เช่น เฉาก๊วย วุ้น ข้าวต้มสามเหลี่ยม วางลงในก้นถ้วย ตักน้ำเชื่อมใส่เล็กน้อย จากนั้นทำน้ำแข็งป่นจากเครื่องไสน้ำแข็งเกล็ดหิมะให้น้ำแข็งราดอยู่ด้านบน พร้อมราดด้วยน้ำหวานเฮลซ์บลูบอย ตามด้วยนมข้นหวาน สุดท้ายตกแต่งหน้าด้วยเยลลี่รูปตุ๊กตาต่าง ๆ เพิ่มสีสันให้ดูน่ารับประทาน

 

รวมต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทในวันแรก ไม่รวมค่าเครื่องทำน้ำแข็งใส  ถ้ารวมค่าเครื่องทำน้ำแข็งใสรุ่นถูกสุดจะอยู่ที่ 2,400 บาท จากนั้นวันที่ 2 อาจจะลงทุนแค่ 200 ถึง 300 บาท เพื่อซื้อของเติม เพราะมีของอยู่แล้ว ซึ่งธุรกิจขายน้ำแข็งใสถือว่าเป็นธุรกิจที่ลงทุนน้อย แต่กำไรค่อนข้างดีเลย

 

กลยุทธ์ในการขาย

**จัดหน้าร้านให้สวยงามน่ารัก โดยวางเครื่องเคียงต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบอยู่แถวหน้า เพื่อให้ลูกค้าได้มองเห็นและดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน
**ส่งเสียงเรียกลูกค้าบ้าง พูดจาอ่อนหวาน สอบถามลูกค้าว่าลูกค้าต้องการทานน้ำแข็งใสอย่างไร เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
**วางป้ายให้ชัดเจน ป้ายเมนู หรือ ป้ายราคา ป้ายบอกประโยชน์ของเครื่องเขียง เช่น ถั่วแดงมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร เป็นต้น

 

คำแนะนำเพิ่มเติม

**เครื่องเคียงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มันเชื่อม ฟักทองเชื่อม ลอดช่อง พุทราเชื่อม มีขายแบบสำเร็จรูป ราคา 50 บาทต่อถุง สามารถหาซื้อได้จากร้านขายส่งขนมหวานต่าง ๆ หรือ ในตลาดสด ผู้ประกอบการไม่เสียเวลาเอง
**ตั้งราคาขายให้เหมาะสม พิจารณาจากทำเลและค่าเช่าที่ รวมถึงดูปริมาณให้สัมพันธ์กับราคาขายที่ 10-25 บาท
**มีทางเลือกใหม่ ๆ ให้ลูกค้า เช่น คนที่รักสุขภาพและดูแลรูปร่าง ควรเพิ่มสูตรหวานน้อย ให้ลูกค้าได้เลือก เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มนี้หรือคนที่อยากทานหวานน้อย หรืออาจจะเพิ่มเครื่องเคียง ธัญพืช ต่าง ๆ ลงไปด้วย

 

ขอบคุณเครดิตภาพ shorturl.asia/iN4DO
อ่านบทความเพิ่มเติม www.archeep108.com