สมุนไพร

เปิดสถาน ประกอบการ สมุนไพร อาชีพ ที่มั่นคง  หากใครมีความรู้ด้านสมุนไพรและอยากมีอาชีพที่มั่นคงขายสมุนไพรเป็นของตัวเอง สามารถเปิดสถานประกอบการเป็นของตัวเองได้ไม่ยาก ทีสำคัญจะต้องมีการขออนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการสมุนไพรอย่างถูกต้องตามกฎหมายก่อนเป็นอันดับแรก เรามาดูกันว่า จะเปิดสถานประกอบการสมุนไพรทั้งที ต้องทำอย่างไรบ้าง สมุนไพร

 

สมุนไพรคือ สารอาหารสำคัญจาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุ นำมาใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ และบำรุงร่างกาย

 

สมุนไพรจากพืช – นำส่วนประกอบต่าง ๆ ของพืชมาทำเป็นยา ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด ราก หัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้
สมุนไพรจากสัตว์ – การใช้ส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ เช่น ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมันมูล มาสัดทำยารักษาโรค ในรูปแบบ ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา
สมุนไพรจากแร่ธาตุ – เช่น เกลือ กำมะถัน น้ำประสานทอง

รูปแบบของสมุนไพรที่ใช้เป็นยา

การนำเอาสมุนไพรมาใช้ในการบำบัดโรค และบำรุงร่างกาย สมุนไพรจะถูกแปรรูปในรูปแบบที่สามารถบริโภคได้สะดวก ประกอบด้วย ของเหลว ของแข็ง กึ่งของเหลว และรูปแบบอื่น ๆ โดยละเอียดดังนี้
ของเหลว กรรมวิธีในการแปรรูปสมุนไพร ใช้การต้มกับน้ำ และคั้นน้ำจากสมุนไพรต่าง ๆ และนำเอามาเป็นส่วนผสมของยาดองเหล้า
ของแข็ง กรรมวิธีเกิดจากการนำสมุนไพรไปตากแห้ง และบดให้ละเอียด และนำไปปั้นเป็นเม็ด เรียก ยาลูกกลอน
กึ่งของเหลว ลักษณะกรรมวิธีการพอก คือ กานนำสมุนไพรสด หรือ แห้งมาบดให้มีน้ำ หรือ นึ่งให้ และใช้การพอกใช้เพื่อการรักษาภายนอก เรียก ยาพอก
รูปแบบอื่น ๆ ลักษณะการใช้งานแบบอื่น ๆ เช่น การรมควัน เพื่อรักษาแผล สำหรับสตรีหลังคลอดลูก

หลักการใช้สมุนไพร

การใช้สมุนไพรไทย ไม่ควรใช้รักษาโรคที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค
สำหรับกลุ่มอาการร้ายแรง เช่นไข้สูง ซึม ไม่รู้สึกตัว ปวดอย่างรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด ตกเลือดจากช่องคลอด ท้องเดินอย่างรุนแรง หรือคนไข้เป็นเด็ก สตรีมีครรภ์ ไม่ควรใช้สมุนไพรรักษา
การใช้สมุนไพร หรือ การบริโภคสมุนไพร ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช้หรือกินมากเกินไป ไม่ควรใช้สมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หากมีอาการแพ้ ร่างกายเป็นพิษที่เกิดจากการใช้สมุนไพรไทย ควรหยุดทันที

 

ในการเปิดสถานประกอบการสมุนไพร จะต้องทำการขออนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และสถานปรกอบการสมุนไพร อะไรบ้าง
จะต้องทำการขออนุญาตทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เป็นแบบการอ้างอิงตำรับ
การขออนุญาตทะเบียนตำรับยาจากสมุนไพรใน 1 วัน

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โทรศัพท์ – 02-590-7477

การขออนุญาตเกี่ยวกับสถานประกอบการสมุนไพร

สถานที่ขายยาสมุนไพร

1.กรอกแบบฟอร์ม คำขออนุญาตผลิตขาย นำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพร สมพ.1 พร้อมเอกสารแนบตามแบบฟอร์ม
2.แนบแผนที่แสดงเส้นทาง พร้อมพิกัด GPS ของสถานที่ขายยาที่ขออนุญาต
3.จัดทำคลิปวิดีโอ จำนวน 2 คลิป
คลิปแรก – แนะนำตัวผู้ขออนุญาตดำเนินการ และเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ พร้อมบัตรประชาชน แนะนำสถานที่ตั้ง ตำแหน่งที่ติดตั้งป้ายสถานที่ขายยาแผนโบราณ และป้ายผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
คลิปสอง – แนะนำการจัดพื้นที่ร้าน การจัดประเภทยาเพื่อจำหน่าย การจัดประเภทยาเพื่อจัดจำหน่าย การจัดเก็บยาภายในคลังสินค้า ระบบถ่ายเทอากาศภายในร้าน และ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการรักษาคุณภาพของยา รวมถึงการกำจัดสิ่งปฏิกูลและการรักษาความสะอาด
ยื่นคำขออนุญาต ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ OSSC กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น หรือที่ email : premarketing.khonkaenfda@gmail.com
สถานที่ผลิตยาสมุนไพร
1.ยื่นขออนุญาตแบบแปลนสถานที่ผลิต ณ กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง นนทบุรี
2.เมื่อได้รับการอนุมัติแบบแปลนสถานที่ผลิตยาสมุนไพรแล้ว ยื่นคำขออนุญาต คำขออนุญาตผลิต ขาย นำเข้า ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พร้อมเอกสารแนบตามแบบฟอร์ม ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัขสาธารณสุขสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น
แบบฟอร์มในการยื่นคำขออนุญาตด้านยาสมุนไพร ได้แก่
1.คำขออนุญาตผลิต ขาย น้ำเข้า ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สมพ.1
2.คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร สมพ.3
3.คำรับรองของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการผลิตภัณฑ์สมุนไพร สมพ.4
4.สัญญาระหว่างผู้รับอนุญาตและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
5.หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ
6.หนังสือมอบอำนาจให้ทำการแทน
7.คำขอต่ออายุใบอนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร สมพ.5
8.คำขอใบแทนใบอนุญาตผลิคภัณฑ์สมุนไพร สมพ.6
9.คำขอโอนใบอนุญาตผลิต นำเข้า ขาย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สมพ.7
10.หนังสือให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

กฏหมายเกี่ยวกับสมุนไพรที่ต้องทราบและปฏิบัติตาม

1.พระราชบัญญัติสมุนไพร
2.กฎกระทรวง การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิต นำเข้า หรือขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2563
3.กฎกระทรวง กำนหดค่าธรรมเนียม ลดและยกเว้นค่าธรรมเนียมการดำเนินการเกี่ยวกัลผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2563

สมุนไพรที่สามารถเปิดขายได้

1.กานพลูผง
2.ลิ้นทะเลผง
3.เมนทอลเกรดเอ
4.เนื้อมะขามเปียกผง
5.กะเม็งแห้ง
6.กวาวเครือขาวแห้ง
7.กำแพงเจ็ดชั้นแห้ง
8.กำลังช้างสารแห้ง
9.กำลังช้างสารผง
10.กวาวเครือแดงผง
11.กระเทียมผง
12.กำลังวัวเถลิงแห้ง
13.กระชายขาวผง
14.กวางเครือขาวผง
15.ฝาง
16.กะเม็งผง
17.กวาวเครือแดงแห้ง
18.กำแพงเจ็ดชั้นผง
19.กระเจี๊ยบแดงผง
20.อื่น ๆ อีกมากมาย

 

สำหรับใครที่มีความรู้ด้านสมุนไพรเป็นพิเศษ และสนใจเปิดสถานประกอบการสมุนไพรร้านเล็ก ๆ เป็นของตัวเอง สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเตมได้ที่ กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่จะพาท่านไปสู่การเปิดสถานประกอบการสมุนไพรได้อย่างถูกวิธี ถูกขั้นตอน ถูกกฎหมาย เพราะการรักษาสุขภาพ หรือการป้องกันโรคภัย การใช้สมุนไพรสามารถรักษาได้ดี ปลอดภัยสูง ไม่สะสมสารเคมีในร่างกาย และสามารถรักษาโรคภัยได้เช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลที่มา : กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

 

ขอบคุณเครดิตภาพ : shorturl.asia/8VKcl
อ่านบทความเพิ่มเติม : www.archeep108.com